...ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเวปด้วยความยินดียิ่งครับผม ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด จงอย่าช้ารีบเร่งทำความดี...

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร


เฟสบุ๊คเพื่อสนทนาปัญหาธรรมะและเผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และโอวาทธรรม คำสอน พ่อแม่ครูอาจารย์พระอรหันต์ครับ
ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด จงอย่าช้ารีบเร่งทำความดี


www.facebook.com/groups/226951157350091

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร )
( พ.ศ. ๒๔๕๒ – ๒๕๓๔ )
สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


นามเดิม สิม วงศ์เข็มมา

เกิด วันศุกร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒

บ้านเกิด บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

บิดามารดา นายสาน และนางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา

พี่น้อง รวม ๑๒ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

บรรพชา

อายุ ๑๗ ปี (มหานิกาย) วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ปีมะโรง


วัดศรีรัตนาราม ณ บ้านบัวโดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ญัตติเป็นธรรมยุตโดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

อุปสมบท

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ตรงกับ วันอังคารขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ณ วัดศรีจันทราวาส


ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใน โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เ เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธาจาโร"

เรื่องราวในชีวิต

เมื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ธุดงค์มาสร้างสำนักสงฆ์อยู่ที่บ้านสามผง จังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ นั้น

ท่านซึ่งพึ่งบรรพชาเป็นสามเณรมหานิกายอยู่ที่วัดบ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้ติดตามพระอาจารย์คูณ เดินทางมานมัสการขอเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่นจึงให้บรรพชาใหม่เป็นธรรมยุต และได้ติดตามพระอาจารย์มั่น ไปในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่พรรษาแรก ท่านได้รับการศึกษาอบรม จากพระอาจารย์มั่นอยู่ตลอดมา แม้เมื่อผ่านการอุปสมบทแล้วก็ยังคงบำเพ็ญภาวนากับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล อยู่ตามป่าเขา ถ้ำและสถานที่ต่าง ๆ จนกระทั่งออกธุดงค์เพียงรูปเดียวในพรรษาต่อ ๆ มาได้พำนักที่ถ้ำบนภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น และบางทีก็บำนักในที่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากเกินกว่าที่จะบิณฑบาตได้ ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ ได้สร้างวัดป่าที่อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นถิ่นธุรกันดาร ยังไม่ได้เป็นอำเภอ ปีต่อมา ได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส เพื่ออบรมการปฏิบัติธรรมกรรมฐานแก่พระเณรในกรุงเทพฯ ปี พ.ศ.๒๔๘๐ พรรษาที่ ๙ ได้กลับไปที่บ้านเกิด บูรณะวัดบ้านบัวขึ้นใหม่ จนกลายเป็นวัดสันติสังฆาราม และท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดนั้นเป็นวัดแรก ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะ กลับคืน ตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษา ที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้าง กับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่สิมพบกับลูกศิษย์ คนแรกที่อุปสมบทที่เชียงใหม่คือ พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสของวัด "สันติธรรม" ซึ่งได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่า เจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยง ดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืน ถิ่นฐานเดิม หลวงปู่จึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่ ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง "วัดสันติธรรม" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธา ของสานุศิษย์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีสมณศักดิ์เป็นพระครูสันติวรญาณ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านต้องรับภาระเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาสที่จังหวัดสกลนคร ทำให้ท่านต้องลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทั้ง ๔ วัดในปลายปีนั้น โดยมุ่งหน้าไปสร้างสำนักสงฆ์อยู่ที่ถ้ำผาปล่องบนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถ้ำนี้ท่านเคยขึ้นไปพบเมื่อ ๖ ปีก่อน ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปล่องตลอดมานับจากนั้น และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระญาณสิทธาจารย์
มรณภาพ

วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ สิริอายุ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา
ข้อมูลพิเศษ

เมื่อเป็นสามเณรท่านได้รับคำพยากรณ์จากพระอาจารย์มั่นว่า “เธอเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่

เมื่อใดเบ่งบานแล้วจะหอมกว่าหมู่”
เล่ากันว่า เมื่อครั้งออกธุดงค์ในป่าเขา ห่างไกลผู้คน ท่านสามารถบิณฑบาตอาหารทิพย์จากเทวดาได้ พลังจิตของท่านสามารถทำให้พระพุทธรูปขนาดใหญ่สั่นสะเทือนได้
ธรรมโอวาท

"...จิตใจหรือว่าจิตคนเรานั้นต้องฝึกฝนอบรมจึงจะเป็นไปได้ ให้ใจมันมีความเพียร ความหมั่นความขยันไม่ให้เกียจคร้าน ไม่ว่าจะเป็นการท่องบ่นสาธยายพระธรรมคำสั่งสอน ก็ไม่ให้เกียจคร้าน ให้หมั่น ความเพียรนั้นคือว่าหมั่น ขยัน กราบพระ ไหว้พระ สวดมนต์ ก็อย่าเพียงหมายแต่ว่ามารวมในหมู่ในคณะกราบพระไหว้พระ เราอยู่คนเดียวก็กราบได้ไหว้ได้ นั่งสมาธิภาวนาได้ สวดมนต์ภาวนาได้ เดินจงกรมได..."้

"...ความเพียรนี่แหละท่านว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญ วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้มีความพากเพียรพยายามแล้ว กิจกรรมการงานใด ๆ ไม่เหลือวิสัย ผู้มีความเพียรพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้มาภาวนาตั้งใจปฏิบัติไม่มีความเพียร แต่อยากให้จิตใจของตนพ้นจากความทุกข์ความเร่าร้อนต่าง ๆ นานา ทำอย่างไรใจข้าพเจ้าจะสงบระงับ มีอุบายอะไร ก็อุบายไม่ขี้เกียจนั่นแหละ..."

"...อุบายมันอยู่ที่ไหน อุบายมันอยู่ที่ความเพียร ทำอย่างไรข้าพเจ้าจะสู้กับกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในใจได้ ไปสู้ที่ไหน ก็สู้ด้วยความเพียร สู้ด้วยความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลงไปแล้วให้มันมั่นคง ไม่มั่นคงอย่าไปถอย เมื่อจิตใจไม่ถอย จิตเพียรพยายามอยู่ หาวิธีการที่จะเอาชนะกิเลสในใจของตนให้ได้ เดี๋ยวนี้กิเลสในใจมันย่ำยีเหยียบกาย วาจาจิตของเราอยู่ ไม่ยอมให้เราลุกขึ้นปฏิบัติภาวนาได้เต็มที่ทำได้นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ความอยากได้มาก อันนี้ไม่ถูก..."

"...เมื่อมีความเพียรอะไรมันจะเหลือ (วิสัย) ความเพียร ดูพระพุทธเจ้าที่ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านมีความเพียร สี่อสงไขย แสนมหากัป ท่านยังมีความเพียร ความหมั่น ขยัน เอาจนสำเร็จลุล่วงไปได้นั่นแหละคือความเพียร ความเพียรไม่ใช่คำพูดอย่างเดียว เป็นการเพียรทางกาย เพียรทางวาจา เพียรทางจิต เพียรหมดทุกอย่าง เรียกว่า วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะความเพียร..."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น